โลโก้เว็บไซต์ พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการจัดการศึกษาระหว่างหลักสูตรการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศกับบริษัท ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด | หลักสูตรการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการจัดการศึกษาระหว่างหลักสูตรการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศกับบริษัท ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 26 กรกฎาคม 2566 โดย พิริยมาศ ศิริชัย จำนวนผู้เข้าชม 169 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการจัดการศึกษา ระหว่าง หลักสูตรการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ กับ บริษัท ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด

โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว คณบดีคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยอาจารย์อนาวิน สุวรรณะ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา และ อาจารย์ ดร.ไพรพันธ์ ธนเลิศโศภิต รองคณบดีฝ่ายบริหารและแผนยุทธศาสตร์ รวมถึงอาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

และนายณรงค์ อุยสวัสดิ์  ผู้อำนวยการอาวุโสแผนกบริหารบุคลากรและวัฒนธรรมองค์กร บริษัท ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้แทนร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้

วัตถุประสงค์ในการลงนามบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อความร่วมมือในการจัดการศึกษา
สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) ที่ครอบคลุมการจัดการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน ด้วยการฝึกการประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎีและเติมเต็มระหว่างความรู้ที่ได้รับจากการเรียนการสอนในห้องเรียน ซึ่งถือเป็นการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพให้นักศึกษา และเป็นประโยชน์ต่อองค์กรผู้ใช้บัณฑิต ไปจนถึงการร่วมออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นสมรรถนะของนักศึกษาร่วมกันเพื่อให้สอดคล้องและตรงตามเป้าประสงค์ของแต่ละหลักสูตรและสถานประกอบการ ทั้งนี้หลักสูตรได้ตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมภาคบริการโดยเฉพาะภาคส่วนการบริการจัดการโรงแรมและการบริการ อาทิ การบริหารการจัดการ การตลาดภาคท่องเที่ยวและการโรงแรม และอื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย การเพิ่มขึ้นของธุรกิจภาคบริการในประเทศไทย ทำให้สถานประกอบการซึ่งเป็นบริษัทภาคบริการมีความต้องการกำลังคนที่มีความรู้ ทักษะเฉพาะด้านหรือผู้ชำนาญการด้านวิชาชีพจำนวนมากขึ้น




ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา